รูปทรงและลักษณะหลังคา 

รูปทรงและลักษณะหลังคา

หลังคาทุกหลังออกแบบมาเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เฉพาะที่สวยงามน่าดึงดูด ซึ่งอาจเป็นเพียงหนึ่งในข้อควรพิจารณาอีกมากมายที่ควรต้องคำนึงด้วย ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงลักษณะและรูปทรงหลังคาที่พบมากที่สุด เพื่อจะได้เข้าใจถึงลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน

หมายเหตุว่า รูปทรงหลังคาที่จะกล่าวต่อไปนี้ สามารถรวมหรือเชื่อมต่อกันในอาคารเดียว เพื่อสร้างเป็นหลังคาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ โดยอาจนำไปสู่องค์ประกอบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น

ความแตกต่างระหว่างหลังคาทรงลาดสูงและทรงลาดต่ำ

หลังคาทั้งหมดสามารถแบ่งได้ว่าเป็นหลังคาทรงลาดสูงหรือทรงลาดต่ำ กรณีหลังคาทรงลาดต่ำโดยทั่วไปเรียกว่า หลังคาแบน (ดูคำอธิบายด้านล่าง) ส่วนหลังคาทรงลาดสูง 3:12 หรือสูงกว่านี้ (หมายถึงหลังคาสูงขึ้น 3 นิ้วในระยะ 12 นิ้ว) เรียกว่าหลังคาลาดชันสูง

หลังคาแบน

แม้จะมีอีกชื่อเรียก แต่หลังคาแบนก็ไม่ได้แบนไปทั้งหมด หลังคารูปทรงนี้ออกแบบเพื่อระบายน้ำฝนลงสู่พื้นดินได้อย่างเหมาะสม ระยะห่างของหลังคาเป็นตัวกำหนดวัสดุที่ใช้เช่น ความลาดชันของกระเบื้องและหินกาบสามารถอยู่ในช่วงระหว่าง 12.5 ถึง 22 องศาขึ้นอยู่กับผู้ผลิต วัสดุกันน้ำซึมของหลังคาแบน โดยทั่วไปได้แก่ น้ำมันดินโมดิฟายด์ เทอร์โมพลาสติกหรือระบบยางสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามหลังคาแบบ Standing Seam ที่มีระยะลาดชัน 1.5 องศา สามารถใช้วัสดุเช่น สังกะสีหรือทองแดงได้

หลังคาแบน

หลังคาเพิงหมาแหงนหรือหลังคาเพิงเดียว

หลังคาเพิงหรือเพิงเดียวมีการออกแบบที่แตกต่างกันด้านความลาดชันอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วยพื้นผิวเรียบเดียว บางครั้งเรียกว่า หลังคาเพิงเดียวไปจนถึงหลังคาเพิงแหงน และหลังเพิงลาด หลังคาลาดชันในมุมตั้งฉากและไม่ยึดติดกับพื้นผิวหลังคาอื่น ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคหลังคาที่นิยมใช้ในช่วงยุควิกตอเรีย ลักษณะของหลังคาเพิงเดียวมีคล้ายแบบวงกลมหรือผีเสื้อ หลังคาเพิงเดียวทรงกลมมีขอบโค้งอ่อนในขณะที่ทรงผีเสื้อเป็นแบบลาดชันไปยังจุดใดจุดหนึ่ง

หลังคาเพิงแหงน

หลังคาจั่ว

หลังคาลักษณะนี้ คือรูปแบบดั้งเดิมที่สุดแบบหนึ่ง หรือที่เรียกว่าหลังคาลาดซึ่งกำหนดด้วยรูปสามเหลี่ยมทรง “A” ตรงด้านที่ลาดเอียงมาบรรจบกันที่สัน ในขณะที่ส่วนปลายสุดบรรจบที่กำแพงสร้างโดยมีส่วนขยายรูปสามเหลี่ยมซึ่งเรียกว่าหน้าจั่ว ขนาดของด้านข้างกำหนดโดยความต้องด้านคุณสมบัติและไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน นอกจากนี้ มีบางครั้งที่บ้านหลังใหญ่ต้องการทำหลังคามากกว่าสองหน้าจั่วเพื่อสร้างความลึกเพิ่มเติม และเพื่อรองรับโครงสร้าง หลังคาหน้าจั่วรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ จั่วหักมุม จั่วโค้งและจั่วแปดมุม

หลังคาจั่ว

หลังคา A-Frame

ตามชื่อเลยว่า หลังคา A-frame มีรูปทรงเหลี่ยมตามตัวอักษร “A” ซึ่งมีด้านที่สมมาตรและทำมุม การออกแบบที่แตกต่างมักพบเห็นได้ในอาคารสไตล์ดั้งเดิม เช่น กระท่อมและกระต๊อบแบบชนบทจากนั้นจึงนำมาสร้างบ้านทรง A-frame เจ้าของบ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่เย็นกว่าจะได้ประโยชน์จากการระบายน้ำตามธรรมชาติที่มีให้โดยรูปทรงหลังคา ซึ่งช่วยให้หิมะเลื่อนตกลงมาได้ ลดโอกาสที่มันจะแข็งตัวแล้วเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

หลังคา A-Frame

หลังคาปั้นหยา

หลังคาทรงปั้นหยามีลักษณะลาดเอียงทั้งสี่ด้านที่เชื่อมต่อกันในแต่ละด้านของอาคาร การออกแบบรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจพบได้บ่อยที่สุด และโดยทั่วไปจะมีสี่หน้าในระยะห่างที่เท่ากันเพื่อสร้างสมมาตรหลังคาที่ไม่โดดเด่น รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นตัวเลือกยอดนิยมเช่นกันและเมื่อนำแบบนี้ไปใช้จึงมีลักษณะคล้ายพีระมิด เนื่องจากไม่มีการใช้หน้าจั่วหรือด้านแนวตั้งอื่น ๆ ในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสามารถติดรางน้ำได้อย่างง่ายดายเนื่องจากตำแหน่งของแนวหลังคาที่ด้านบนของผนังสร้าง ดังนั้นหลังคาทรงปั้นหยาจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับอาคารที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่มีลมพัดแรง

หลังคาปั้นหยา

หลังคาลาดสองชั้น

หลังคาลาดสองชั้น เป็นรูปแบบหนึ่งของหลังคาทรงปั้นหยาโดยแต่ละส่วนลาดเอียงแบ่งออกเป็นสองชั้น ส่วนที่ใกล้กับผนังสูงชันขึ้นเพื่อเพิ่มพื้นที่ใต้หลังคาให้มากที่สุด โดยมีระดับความลาดเอียงไปถึงตรงกลาง จากมุมมองด้านนอกให้ความรู้สึกเหมือนหลังคาแบนตรงส่วนด้านบนสุดของบ้านเนื่องจากมองเห็นเฉพาะส่วนที่ลาดชันเท่านั้น ซึ่งเป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยมในการสร้างบ้านแบบดั้งเดิมในฝรั่งเศสและเยอรมนี อันเป็นผลมาจากสถาปัตยกรรมที่ได้รับการแนะนำโดยนักออกแบบชาวฝรั่งเศส Francois Mansart ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16

หลังคาลาดสองชั้น

หลังคาทรงจั่วหักมุม

หลังคาจั่หักมุม และหลังคาลาดสองชั้นมีความคล้ายกัน เนื่องจากการออกแบบให้มีความลาดชันสองด้าน อย่างไรก็ตามความแตกต่างระหว่างรูปแบบจะเห็นได้ชัดเมื่อตรงที่หลังคาจั่วหักมุมจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนด้านจากหลังคาลาดสองชั้น โดยหลังคาทรงจั่วหักมุมมีลักษณะลาดชันจน เกือบเป็นแนวตั้งในขณะที่ความลาดชันด้านบนมีระยะห่างที่ต่ำกว่า โดยทั่วไปหลังคาจะยื่นออกมานอกอาคารและใช้ปลายจั่วทรงตั้ง โดยปกติจะพบเห็นได้ตามอาคารต่าง ๆ เช่น บ้านสวน โรงนาและกระท่อมไม้ซุง รวมทั้งมีลักษณะย้อนยุคไปในยุคอาณานิคมจอร์เจียและดัตช์

หลังคาทรงจั่วหักมุม

หลังคาสองชั้น

ด้านหน้าจั่วตั้งอยู่ที่ปลายแต่ละด้านของหลังคาสองชั้น แต่มีรูปทรงอสมมาตรที่มีด้านหนึ่งยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง มักพบสร้างเป็นบ้านสไตล์โคโลเนียลที่เก่าแก่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของผู้ตั้งรกรากถิ่นฐานในยุคนิวอิงแลนด์ เช่นเดียวกับภูมิภาคมิดเวสเทิร์น ในช่วงเวลานี้ เจ้าของบ้านที่มีครอบครัวขยายขึ้น สามารถเพิ่มพื้นที่ได้โดยดัดแปลงหลังคาจั่วที่มีอยู่ให้กลายเป็น saltbox เพื่อสร้างห้องเพิ่มเติมตามที่ต้องการ แถมยังประหยัดด้วยการเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย นอกจากนี้บางบ้านที่มีหลังคาลาดสองชั้นยังสร้างเป็นแบบเพิงลาดลงมาเช่นกัน

หลังคาสองชั้น

หลังคาบอนนิท

หลังคาบอนนิท (ฝากระโปรง) มีลักษณะที่ลาดเอียงสองชั้นทั้งสี่ด้าน ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงมองว่าเป็นการดัดแปลงหลังคาทรงจั่วหรือปั้นหยา นอกจากนี้ยังเรียกว่าหลังคาเชิงชายเตะ เนื่องจากความลาดต่ำที่ห้อยอยู่เหนือขอบบ้านที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของฝาระเบียงหรือเฉลียง โดยออกแบบส่วนบนให้มีมุมที่โดดเด่นและมีความลาดชันมากขึ้น ฝากระโปรงเชื่องต่อกันตามแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่พบในภาคใต้ เช่นมิสซิสซิปปี และลุยเซียนา โดยยังคงเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับกระท่อมและบ้านสวนปศุสัตว์

หลังคาบอนนิท

หลังคารับแสง

หลังคารับแสงจะสร้างหลังคา “ที่สอง” ขึ้นบนส่วนที่ยกขึ้นของอาคารและขนานไปกับหลังคาหลัก องค์ประกอบการออกแบบการรับแสงหมายถึงส่วนที่สูงที่สุดของโครงสร้างส่วน “ห้องโถงใหญ่” บานเกล็ดหรือหน้าต่างโปร่งและช่องระบายอากาศที่รองรับแสงและการระบายอากาศเพิ่มเติม มักจะมีลักษณะเป็นหลังคารับแสงตามความยาวของทางเดินกลางที่ยกขึ้น รูปแบบดังกล่าวมักเห็นได้จากบ้านไร่และอาคารอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรืออาจจะพบเห็นตามบ้านในเขตชนบท ซึ่งบางครั้งก็ใช้สร้างป็นที่อยู่อาศัย

หลังคารับแสง

หลังคารูป V หรือหลังคาผีเสื้อ

สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าทำไมหลังคาประเภทนี้จึงเรียกว่าหลังคารูปผีเสื้อหรือรูปตัววี เพราะการออกแบบจึงกำหนดชื่อของมันได้อย่างชัดเจน แทนที่จะเป็นทรงลาดที่ชี้ขึ้น แต่กลับด้านเป็นลาดลงเพื่อสร้างเป็นตัว “V” ตรงกลางส่วนหลังคา โดยทั่วไปถือว่าเป็นรูปแบบที่ทันสมัย เพราะหลังคาผีเสื้อเหมาะกับอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีการวางระบบรางน้ำ ทำให้ง่ายต่อการติดตั้งและปกปิดแผงโซลาร์เซลล์ เลอกอร์บูซิเยร์สถาปนิกชาวฝรั่งเศสนำรูปแบบหลังคานี้มาใช้ในชิลี ปี 1930 ก่อนที่จะมาถึงสหรัฐอเมริกาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1940 หลังคาทรงนี้ส่วนใหญ่พบในย่านเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในยุคปรมาณู

หลังคารูป V หรือหลังคาผีเสื้อ

หลังคาโค้ง

รูปทรงโค้งกว้างของหลังคาชนิดนี้ทำให้การออกแบบมีโปรไฟล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง ที่สามารถรองรับตัวเองหรือรับน้ำหนักได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความกว้างและกำลังเสริมที่ใช้ในระหว่างการก่อสร้างอาคาร หลังคาโค้งบาร์เรลและหลังคาโค้งเป็นสองแบบที่พบเห็นบ่อยที่สุด ในขณะที่บางคนเรียกว่าหลังคาโค้งสีรุ้งหรือโกธิค คุณจะเห็นหลังคาโค้งตามบ้านสวน โรงนา คอกม้า โกดังและอาคารเก่าแก่ ในขณะที่รูปลักษณ์แบบมินิมอลยังใช้งานได้ดีกับคุณสมบัติที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องการเพิ่มการกระจายของแสงธรรมชาติให้ได้มากที่สุด

หลังคาโค้ง

หลังคาโดม

หลังคาโดมที่มีรูปทรงครึ่งวงกลมยังคงโครงสร้างเดิมไว้ตลอดทาง โดยบางครั้งปลายยอดจะมีช่องเปิดเป็นวงกลม นี่คือประเภทหลังคาที่มีประวัติอันยาวนานตั้งแต่สมัยโรมันและเปอร์เซีย ขณะเดียวกันก็เป็นส่วนสำคัญของประเพณีการก่อสร้างของชนพื้นเมืองอีกหลายอย่าง จำนวนการใช้รูปแบบหลังคาโดมมีความแตกต่างกันมาหลายยุคหลายสมัย เช่น โดมหัวหอม โดมประกอบ ห้องเก็บของและอื่น ๆ อีกมากมาย หลังคาประเภทนี้ไม่เพียงแต่สร้างรูปลักษณ์ที่โดดเด่น แต่ยังกันลมได้ดี รวมถึงประหยัดพลังงานได้ดีหากสร้างด้วยวัสดุที่เหมาะสม