หลักการและแนวคิดเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนคืออะไร จุดประสงค์คืออะไร และเหตุใดจึงมีความจำเป็นต่อสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แนวคิดของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนสามารถกำหนดได้ว่าเป็น “สถาปัตยกรรมที่พยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอาคารสมัยใหม่ โดยใช้วัสดุและระบบพลังงานที่ทันสมัย” ด้วยวิธีนี้ เราสามารถออกแบบและสร้างอาคารที่จะไม่ปิดกั้นโอกาสของคนรุ่นต่อไปในอนาคต

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานตลอดวงจรชีวิตของอาคารคือเป้าหมายสูงสุดของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน ซึ่งทีมนักออกแบบจะได้รับโอกาสในการวางแผนและออกแบบอาคารโดยใช้หลักการต่าง ๆ ภายใต้ ‘อาคารสีเขียว’ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด

การใช้ระบบ Danpal มีหลายวิธีที่สามารถช่วยเรื่องการใช้พลังงานอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำเช่นนี้จะช่วยสานฝันของคุณให้เป็นจริงด้านสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน

ระบบกรอบอาคาร Danpal

การใช้ระบบกรอบอาคาร Danpal สิ่งแรกที่ได้คือผลดีต่ออาคารของคุณ ซึ่งเกิดจากการเลือกวัสดุแผง Danpalon ที่เราผลิตทั้งหมด แผงไมโครเซลล์ Danpalon ทั้งหมดถูกอัดขึ้นรูปจากโพลีคาร์บอเนตคุณภาพสูง ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทานแต่น้ำหนักเบาและสามารถรีไซเคิลได้ 100% กระบวนการผลิตแผง Danpalon ของเราไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูงตลอดการผลิตโซลูชันการเคลือบแบบเดิม ผลที่ได้คือแผง Danpalon ของเรามีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับวัสดุหุ้มอาคารทั่วไปเช่น แก้ว โดยทางเรามีข้อเสนอแรกที่ให้คุณได้บรรลุสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน

ต่อไปคือการพิจารณาและทำความเข้าใจเรื่องค่าประสิทธิภาพของแผงกระจกที่เลือกคืออะไร แผง Danpalon สามารถอัดรีดร่วมกับผิวเคลือบ Low-e ขั้นสูงได้ ซึ่งช่วยลดความร้อนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ผลลัพธ์โดยตรงคือการเพิ่มความร้อนที่ไม่ต้องการที่มีประวิทธิภาพเหนือกว่า และนักออกแบบอาคารสามารถออกแบบช่วยให้เปิดรับแสงธรรมชาติได้มากขึ้น

เมื่อแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารมากขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบแสงประดิษฐ์ตลอดทั้งวัน เมื่อใช้ไฟเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการประหยัดพลังงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จูงใจให้ใช้โซลูชัน Danpal ซึ่งสามารถกำหนดให้เป็นเหมือนระบบอาคารสีเขียว การนำแสงธรรมชาติมาใช้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นการสร้างพื้นที่ภายในที่มีคุณภาพสูงหรือ H.Q.E (สิ่งแวดล้อมคุณภาพสูง) จากการศึกษาพบว่าแสงธรรมชาติมีผลในเชิงบวกอย่างมากต่อสุขภาพและจิตใจของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่นั้นทั้งหมด

ประสิทธิภาพของการระบายความร้อนอาคาร

แง่มุมต่อไปของการออกแบบอาคารที่เราต้องพิจารณาคือ ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนโดยรวม ในชิ้นงานแผงไมโครเซลล์ Danpalon เราได้กำหนดไว้แล้วว่าสามารถลดความร้อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับกระจกแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการควบคุมการสูญเสียความร้อนก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ความสมดุลของปัจจัยด้านประสิทธิภาพหลักสองประการนี้ ท้ายที่สุดคือสิ่งที่กำหนด HVAC (การทำความร้อน การระบายอากาศ และความเย็น) สำหรับอาคาร ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและติดตั้งระบบที่ตอบสนองความต้องการของอาคารสมัยใหม่นั้นอาจสูงเกินไป ต่อมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาระบบ HVAC ที่ติดตั้ง ที่อาจกลายเป็นภาระรายเดือนที่ไม่จำเป็น

การเลือกระบบ Danpal ให้กับโครงการก่อสร้างของคุณหมายความว่า คุณกำลังตัดสินใจที่จะยึดตามแนวทางของสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน แผง Danpalon ที่เราผลิตขึ้น ใช้เทคโนโลยีการอัดรีดขั้นสูงซึ่งสามารถสร้าง “โครงสร้างแผงไมโครเซลล์ภายใน” ได้ ระยะห่างแคบ ๆ ระหว่างเซลล์เหล่านี้ทำให้แผง Danpalon มีคุณสมบัติที่จะช่วยลดอัตราการถ่ายเทความร้อนได้อย่างมาก การลดการไหลของความร้อนจากพื้นที่ภายในสู่ภายนอกอาคารช่วยให้มีสภาพแวดล้อมที่คงที่ และลดความตึงเครียดให้กับระบบ HVAC สำหรับอาคารใหม่ใด ๆ ที่กำลังจะก่อสร้างเร็ว ๆ นี้ ทีมสถาปัตยกรรมมีโอกาสได้ปรึกษากับวิศวกร HVAC และลดต้นทุนเริ่มต้นของโซลูชัน HVAC ที่จำเป็น ผ่านการรวมระบบกรอบอาคาร Danpal ได้อย่างง่ายดาย

ด้วยการผลิตพลังงานประมาณ 40% ของโลกที่นำไปใช้ในการบำรุงรักษาอาคารในเรื่อง HVAC และจุดประสงค์ด้านแสงประดิษฐ์ การประหยัดพลังงานจึงกลายเป็นคำศัพท์ใหม่ไปทั่วโลก และด้วยธุรกิจที่มีทั่วโลก เราเห็นการออกกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ในแอฟริกาใต้ โครงการก่อสร้างใหม่ทั้งหมดต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของ SANS 208 และ 10400-XA

สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน

สถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน จึงเป็นความพยายามร่วมกันของทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นในทรัพยากรธรรมชาติ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ระบบห่อหุ้มอาคารที่ทันสมัย ความสมดุลของประสิทธิภาพพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อน และการนำแสงธรรมชาติเข้ามาสู่อาคาร ทั้งหมดล้วนเป็นประเด็นหลักที่ต้องแก้ไข ซึ่งทาง Danpal ได้เตรียมโซลูชั่นไว้ให้คุณมากมาย ยินดีต้อนรับสู่โลกใหม่ที่แข็งแกร่งหรือสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน

ปรึกษา Danpal เกี่ยวกับโครงการสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืน ให้กับงานก่อสร้างต่อไปของคุณในอนาคต

 

อุปกรณ์ควบคุมและบังแดด

คำแนะนำ

มีหลายเหตุผลที่เรามักต้องการควบคุมระดับความร้อนที่ส่องเข้ามาในอาคาร และด้วยสภาพอากาศที่อบอุ่นและมีแดดจัด การได้รับแสงอาทิตย์มากเกินไปอาจส่งผลต่อการใช้พลังงานความเย็นสูงขึ้น เพราะสภาพอากาศที่เย็นและอบอุ่น โดยมีแสงแดดช่วงฤดูหนาวส่องผ่านเข้ามาทางหน้าต่างที่หันหน้าทางทิศใต้ แน่นอนว่าอาจส่งผลให้เกิดความร้อนจากแสงอาทิตย์แบบพาสซีฟ (passive solar) และการควบคุมในแทบทุกสภาพอากาศ รวมถึงการส่องแสงสว่างโดยธรรมชาติจะช่วยเพิ่มการรับแสงช่วงกลางวันได้ดี

อุปกรณ์ควบคุมและบังแดดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีสามารถลดปริมาณความร้อนและความเย็นสูงสุดของอาคารได้อย่างมาก รวมทั้งช่วยยกระดับคุณภาพแสงธรรมชาติจากการตกแต่งภายในอาคาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและตำแหน่งของช่องหน้าต่างด้วย ซึ่งมีรายงานว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานทำความเย็นได้ถึง 5-15% ต่อปี นอกจากนี้อุปกรณ์ควบคุมและบังแดดยังช่วยเพิ่มการมองเห็นของผู้ใช้ได้ด้วยการควบคุมแสงจ้าและลดอัตราส่วนคอนทราสต์ลง

อุปกรณ์บังแดดช่วยเสริมความโดดเด่นบริเวณส่วนหน้าอาคารหนึ่งให้มีความแตกต่างจากอีกอาคารหนึ่ง อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถทำให้เป็นที่น่าสนใจ และยังสามารถออกแบบให้เป็นแบบธรรมดาได้ตามคุณสมบัติทางกายภาพนั้นเอง

คำอธิบาย

การใช้อุปกรณ์ควบคุมและบังแดดเป็นกลยุทธ์สำคัญของการออกแบบอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงานหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่ใช้ระบบทำความร้อนจากแสงอาทิตย์แบบพาสซีฟหรือไฟส่องสว่างในเวลากลางวัน มักต้องพึ่งอุปกรณ์ควบคุมและบังแดดที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสม

ในช่วงฤดูหนาว การบังแดดหน้าต่างภายนอกเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้าสู่พื้นที่ที่มีการปรับอากาศ ทั้งนี้สามารถสร้างร่มเงาได้โดยการจัดสวนธรรมชาติ หรือโดยส่วนประกอบของอาคาร เช่น ผ้าใบบังแดด กันสาดและระแนงบังตา อุปกรณ์บังแดดบางชนิดสามารถทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสงที่เรียกว่า หิ้งสะท้อนแสง ซึ่งจะช่วยสะท้อนแสงธรรมชาติให้ส่องเข้ามาภายในอาคาร

การออกแบบอุปกรณ์บังแดดที่มีประสิทธิภาพจะขึ้นอยู่กับการวางเปลือกอาคารตามแนวแสงอาทิตย์ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงฤดูร้อนที่มุมดวงอาทิตย์อยู่สูง กันสาดที่ยึดติดอาคารจะช่วยบังแดดบริเวณหน้าต่างที่หันหน้าทางทิศใต้ อย่างไรก็ตามหากอยู่ในช่วงฤดูร้อน อุปกรณ์แนวขนานประเภทเดียวกันนี้ไม่สามารถบังแดดอ่อน ๆ ช่วงบ่ายได้ เพราะแสงแดดอยู่ต่ำและสามารถผ่านช่องหน้าต่างที่หันหน้าทางทิศตะวันตกได้

อุปกรณ์บังแดดภายนอกมีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับอาคารกระจกใส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้มีการเคลือบผิวกระจกที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดต่ำ (SC) หากเลือกใช้บริการเคลือบกระจกชนิดนี้จะช่วยลดความจำเป็นในการใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกได้

ดังนั้นการควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์และการบังแดดอาคาร สามารถทำได้หลากหลายแบบ ดังนี้ :

  • เสริมลักษณะทางภูมิทัศน์ เช่น ต้นไม้ที่โตเต็มที่หรือบานเกล็ดปรับได้
  • เสริมองค์ประกอบภายนอก เช่น กันสาดหรือครีบแนวตั้ง
  • เสริมพื้นผิวสะท้อนแนวขนานพื้นที่เรียกว่า หิ้งสะท้อนแสง
  • เคลือบกระจกที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด (SC) และ
  • ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมแสงสะท้อนภายใน เช่น มู่ลี่หรือบานเกล็ดแบบปรับได้

อลูมิเนียมที่ออกแบบเพื่อบังแดด, แผงควบคุมแสงแดดแนวขนาน, ครีบบังแดดแนวตั้ง

อุปกรณ์บังแดดภายนอกแบบยึดติดอาคาร เช่น กันสาด ที่มักใช้งานได้จริงสำหรับอาคารพาณิชย์ขนาดย่อม ระยะกันสาดที่เหมาะสมที่สุดขึ้นอยู่กับขนาดของหน้าต่าง และความสำคัญของการทำความร้อนและความเย็นในอาคารที่สอดคล้องกัน

ในช่วงฤดูร้อน มุมของดวงอาทิตย์จะอยู่สูงสุดซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 21 มิถุนายน แต่อุณหภูมิและความชื้นสูงสุดมักจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ดังนั้นจำไว้ว่า ขนาดกันสาดที่ยื่นออกมาบังแดดหน้าต่างที่หันหน้าทางทิศใต้ในเดือนสิงหาคม จะช่วยบังแดดหน้าต่างในช่วงเดือนเมษายนด้วย ซึ่งอาจเป็นช่วงที่ต้องการความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็ได้

ขอบคุณภาพจาก SBIC และ  

การออกแบบอุปกรณ์บังแดดอย่างถูกต้องจำเป็นต้องศึกษาเรื่องตำแหน่งของดวงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาว เพราะตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะปรากฏในระดับมุมสูงและมุมราบ

  • มุมสูง คือมุมของดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าซึ่งจะขึ้นสูงสุดของวันในตอนเที่ยงสุริยะ
  • มุมราบหรือที่เรียกว่ามุมแบริ่ง คือมุมของการฉายแสงดวงอาทิตย์ไปตามแนวขนานพื้นดินที่สัมพันธ์กับทิศใต้
  • แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าดูข้อมูลของมุมดวงอาทิตย์และแผนภาพเส้นทางสุริยะ คือ Architectural Graphic Standards, 12th Edition ซึ่งหาได้จากสำนักพิมพ์ John Wiley & Sons, Inc.

มุมราบ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก pveducation.org

อุปกรณ์บังแดดช่วยเสริมภาพลักษณ์ของตัวอาคารภายนอก แต่ภาพลักษณ์นี้อาจจะดูดีขึ้นหรือดูแย่ลงก็ได้ ก่อนหน้านี้ในขั้นตอนการออกแบบอุปกรณ์บังแดดถือว่ามีแนวโน้มที่ดีและน่าดึงดูด และสามารถปรับให้เข้ากับสถาปัตยกรรมโดยรวมของโครงการได้เป็นอย่างดี

ในมาตรฐาน ANSI / ASHRAE / IES 90.1 การออกแบบอาคารใหม่อย่างมีประสิทธิภาพยกเว้นอาคารที่อยู่อาศัยแนวราบ (ซึ่งใช้มาตรฐานเทียบเท่า 10 C.F.R. § 435) ระดับการบังแดดของหน้าต่างเป็นข้อพิจารณาสำคัญที่ต้องประเมินทั้งปัจจัยการฉายแสง (PF) ในส่วนการบังแดดภายนอก และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด (SC) ของกระจก เมื่อใช้วิธีการออกแบบเปลือกหุ้มส่วนประกอบเสริม

ระบบการออกแบบอุปกรณ์บังแดด

ด้วยความหลากหลายของอาคารและช่วงฤดูของสภาพอากาศที่สามารถเกิดขึ้นได้ จึงค่อนข้างสรุปข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์บังแดดได้ยาก อย่างไรก็ตามคำแนะนำการออกแบบต่อไปนี้ โดยทั่วไปถือปฏิบัติได้จริง:

  1. ใช้กันสาดยึดติดเหนือกระจกที่หันหน้าไปทางทิศใต้เพื่อควบคุมลำแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ การควบคุมการแผ่รังสีทางอ้อม (แบบกระจาย) สามารถทำได้โดยมาตรการอื่น ๆ เช่น การเคลือบกระจกสะท้อนแสง
  2. ให้จำกัดปริมาณกระจกทางด้านตะวันออกและตะวันตกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เนื่องจากบังแสงแดดได้ยากกว่ากระจกฝั่งทางใต้ ลองพิจารณาการปรับภูมิทัศน์ให้ช่วยบังแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
  3. หมดกังวลกับการบังแดดของกระจกที่หันหน้าไปทางทิศเหนือในละติจูดของทวีปอเมริกาเนื่องจากได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงน้อยมาก ส่วนในเขตร้อนอาจไม่ต้องสนใจกฎข้อนี้ เนื่องจากด้านทิศเหนือของอาคารจะได้รับพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่า นอกจากนี้ในเขตร้อนให้พิจารณาการบังแดดหลังคาแม้ว่าจะไม่มีสกายไลท์ เนื่องจากหลังคาเป็นส่วนสำคัญของการรับแสงอาทิตย์ที่ส่งเข้ามาในอาคาร (หลังคาโพลีคาร์บอเนต ตารางเมตรละ)
  4. จำไว้ว่าการบังแดดส่งผลต่อแสงสว่างตอนกลางวัน ที่ควรพิจารณาทั้งสองอย่างพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น หิ้งสะท้อนแสง จะช่วยสะท้อนแสงธรรมชาติเข้ามาในห้องได้มากผ่านช่องหน้าต่างบานสูง ในขณะที่การบังแดดอาศัยช่องหน้าต่างที่ต่ำกว่า
  5. อย่าคาดหวังว่าอุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น มู่ลี่หรือบานเกล็ดแนวตั้ง จะช่วยลดภาระการทำความเย็นเพราะได้รับแสงอาทิตย์เข้าสู่พื้นที่ทำงานแล้ว อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ติดตั้งภายในเหล่านี้ มีการควบคุมแสงสะท้อนและสามารถช่วยเรื่องการมองเห็นและความสบายตาในที่ทำงาน
  6. ศึกษาเรื่องมุมของดวงอาทิตย์ การที่เข้าใจเกี่ยวกับมุมของดวงอาทิตย์นั้นสำคัญต่อการออกแบบภายด้านต่าง ๆ รวมถึงการกำหนดแนวอาคารขั้นพื้นฐาน การเลือกอุปกรณ์บังแดด และการวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์แทนวัสดุอาคาร (BIPV) หรือตัวสะสมพลังงานแสงอาทิตย์
  7. พิจารณาความทนทานของอุปกรณ์บังแดดให้ดี เมื่อเวลาผ่านไปอุปกรณ์บังแดดที่ใช้งานได้อาจต้องชำรุดได้และควรพิจารณาเรื่องการซ่อมแซมที่อาจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
  8. เมื่อเน้นใช้องค์ประกอบทางภูมิทัศน์ช่วยบังแดด ให้พิจารณาค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ตามวงจรชีวิตของมัน
  9. กลยุทธ์การบังแดดที่ใช้งานได้ดีในละติจูดหนึ่ง อาจไม่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่ละติจูดต่างกัน ดังนั้นจงระวังเมื่อใช้แนวคิดการบังแดดจากโครงการหนึ่งไปใช้กับอีกโครงการหนึ่ง

ตัวอย่างลักษณะภูมิทัศน์ด้านข้างที่ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงาน

ดูข้อมูลเพิ่มเติม: greenglobes.com
ผนังม่านและหิ้งสะท้อนแสงในพื้นที่ห้องสมุดชั้นสอง

วัสดุและวิธีการก่อสร้าง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีอุปกรณ์บังแดดและกระจกสำหรับติดตั้งในอาคารเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์บังแดดที่เปลี่ยนได้ หลายแบบมีวางจำหน่ายทั่วไปตั้งแต่กันสาดผ้าใบไปจนถึงฉากกั้นแสงอาทิตย์เช่น มู่ลี่ ม้วนบานเกล็ด และบานเกล็ดตั้ง แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยบังแดดได้ดีแต่การนำมาใช้งานจริงมักมีข้อจำกัดในเรื่องการจัดการด้วยตนเองหรือเชิงกล นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านความคงทนและการบำรุงรักษาที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน

ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้าน A&E ระบุชนิดกระจกทั้งหมดอย่างครบถ้วน ซึ่งควรเลือกเป็นกระจกที่มีค่าการถ่ายเทพลังงานความร้อน (U-value) , กระจกที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดต่ำ และ กระจกที่ช่วยเรื่องการมองเห็นที่ดี รวมถึงหน้าต่างที่ถ่ายเทความร้อนสำหรับระบบช่องหน้าต่างทั้งหมด ค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดต่ำ (SC) ของกระจกจะบ่งบอกถึงปริมาณความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะส่องเข้าสู่อาคารเทียบกับกระจกที่เคลือบชั้นเดียว ดังนั้นค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดที่ต่ำกว่าจึงหมายถึงการได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์น้อยลง การส่องผ่านที่ช่วยเรื่องการมองเห็น (Tvis) ของวัสดุเคลือบ แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของแสงที่มีอยู่ในส่วนที่มองเห็นได้จากสเปกตรัมที่เข้าสู่อาคาร ดูเพิ่มเติมจาก WBDG Windows และ Glazing

เมื่อออกแบบอุปกรณ์บังแดด ให้ประเมินการทำงานและการบำรุงรักษา (O&M) รวมถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยทั้งหมดอย่างรอบคอบ ในบางสถานที่อาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ เช่น นกทำรังหรือแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะใช้อุปกรณ์บังแดดผสมผสานกับตัวอาคารไม่ค่อยได้ ความจำเป็นในการบำรุงรักษาและทำความสะอาดอุปกรณ์บังแดด โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้งานจะต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน

การใช้งาน

ในจำนวนอาคารหลัก ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์บังแดด ได้แก่:

  • ค่ายทหารและโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศหนาวเย็นหรือเขตอบอุ่น
  • สำนักงานอาคารบริหารและโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใช้แสงกลางวัน และ
  • เกือบทุกโครงสร้างในสภาพอากาศอบอุ่นและมีแดดร้อนจัด

 

ข้อดีและข้อเสียของแผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนต

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับแผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนต

แผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนตมีให้เลือกหลายประเภท จึงทำให้ลูกค้าเข้าใจได้ยากว่าหลังคาโพลีคาร์บอเนตประเภทใดที่เหมาะกับความต้องการของตนเอง หากสงสัยว่าควรพิจารณาประเภทใดบ้างและอยากเปรียบเทียบหลังคาโพลีคาร์บอเนตกับหลังคาชนิดอื่น เช่น หลังคากระจก คุณอาจไม่ต้องมองหาที่ไหนเพิ่มนอกจากที่นี่

เพราะเราจะพิจารณาที่ส่วนพื้นฐานโดยแท้ของหลังคาโพลีคาร์บอเนต และจะเจาะลึกในรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อหาข้อดีจากหลังคาประเภทนี้เมื่อเลือกใช้เป็นหลังคาของคุณ

โพลีคาร์บอเนตคืออะไร

โพลีคาร์บอเนตเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ในวงกว้างมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อสร้างเพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป การก่อร่างและความแข็งแรงของมัน ในการใช้ทำหลังคาแผ่นโพลีคาร์บอเนตมีข้อเสียน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุเช่น กระจกหรือโลหะ จึงทำให้แผ่นโพลีคาร์บอเนตเหมาะสำหรับมุงหลังคา อีกทั้งยังทนต่อความร้อน แสงแดด หิมะและฝน ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานได้นานหลายปี และเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าสำหรับทำหลังคาบ้านและอาคารพาญิชย์ต่าง ๆ

 

ความหนาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทงานก่อสร้าง

หลังคาโพลีคาร์บอเนตที่นอกจากมีความทนทานและน้ำหนักเบาแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแผ่นหลังคาได้หลากหลาย เนื่องจากมีการผลิตด้วยความหนาที่แตกต่างกัน จึงเหมาะสำหรับงานมุงหลังคาหลายประเภท

โพลีคาร์บอเนตเป็นวัสดุเทอร์โมพลาสติกที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี อีกทั้งมีน้ำหนักเบามากและสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงได้มากไม่ว่าจะร้อนหรือเย็น เนื่องจากคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้แผ่นโพลีคาร์บอเนตเป็นวัสดุมุงหลังคาที่มีประสิทธิภาพด้านการใช้งานหลากหลายประเภท

เป็นที่นิยมหรือไม่

เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะแผ่นโพลีคาร์บอเนตสามารถทนต่อแรงกระแทกและแตกยาก ส่วนมากนิยมเลือกใช้เพื่องานหลังคาดาดฟ้า งานหลังคาปลูกไม้เลื้อย งานหลังคากลางแจ้ง งานหลังคาใส และงานหลังคาเฉลียง หรือแม้กระทั่งมีคุณสมบัติที่ทนต่อกระสุน ซึ่งใช้ทำอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เช่น โล่ตำรวจ แผ่นโพลีคาร์บอเนตมีน้ำหนักเบามาก จึงสะดวกต่อการยกเคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ทุกที่ ด้วยความสามารถในการป้องกันแสง UV ไม่ว่าจะเป็นแผ่นโพลีคาบอร์เนตชนิด perspex แบบธรรมดาและแบบใส แผ่นหลังคาพลาสติก พีวีซีหรือแผ่นอะคริลิก ต่างก็เป็นวัสดุที่นิยมสำหรับงานกันสาด หลังคาระเบียงดาดฟ้าหรือห้องกระจก ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ของโพลีคาร์บอเนตยังนิยมใช้เป็นวัสดุสร้างห้องเรือนกระจก แผ่นโพลีคาร์บอเนตทนต่ออุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด เช่น แสงแดด หิมะ ฝนและแรงลมกระแทก ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหลายปีโดยไม่ซีดจางหรือเปลี่ยนสี อีกทั้งยังคงทนทานจากผลกระทบต่าง ๆ ในระยะหลายปี รวมถึงราคาไม่แพง

ทำขึ้นมาอย่างไร

ระบบหลังคาโพลีคาร์บอเนตเป็นระบบหลังคาไดนามิกที่ทำจากแผ่นโพลีที่อาจเป็นประเภทใดก็ได้ แผ่นงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่เหล่านี้มีสี ผิวเนื้อ และประเภทให้เลือกจำนวนมาก โดยสามารถใช้กับงานหลายประเภทต่างกันเพื่อตอบสนองเฉพาะวัตถุประสงค์

มีประเภทใดให้เลือกบ้าง

โพลีคาร์บอเนตมีหลายแบบ อย่างบางแบบที่เลือกใช้ได้แก่ แผ่นโพลีคาร์บอเนตใส โพลีคาร์บอเนตสีขาว โพลีคาร์บอเนตสี แบบป้องกันแสงเลเซอร์และอื่น ๆ โดยสามารถหาซื้อได้ที่ Bunnings และร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างหลายแห่ง

ทนทานมากแค่ไหน

สามารถทนได้นานถึง 20 ปีขึ้นอยู่กับรูปทรงของหลังคาโพลีคาร์บอเนตที่คุณเลือก

ต้องซ่อมบำรุงบ่อยแค่ไหน

แทบไม่ต้องบำรุงรักษาใด ๆ เลย หลังคาโพลีคาร์บอเนตมีความทนทานเป็นอย่างมาก

ต่อไปเป็นเคล็ดลับแนะนำที่ควรปฏิบัติตอนเมื่อมุงหลังคาโพลีคาร์บอเนต

  • อ่านคำแนะนำและสเปคของผู้ผลิต จากนั้นปฏิบัติตามคำอธิบาย หากคุณไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ จะมีผลต่อการรับประกันจากผู้ผลิตเอง
  • ด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดทั้งวันจะทำให้แผ่นหลังคาขยายและหดตัว ดังนั้นคุณต้องคำนวณค่าเผื่อไว้สำหรับการนี้ มิฉะนั้นจะเกิดแรงต้านของหลังคาที่เกิดจากอุณหภูมิร้อน และทำให้แผ่นหลังคาของคุณหักได้
  • เมื่อทำการมุงหลังคาโพลีคาร์บอเนต ควรเจาะรูสกรูล่วงหน้าก่อนที่จะยึดแผ่นหลังคา และควรปรับขนาดเจาะรูยึดให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการขยายและหดตัวจากอุณหภูมิที่อธิบายไว้ข้างต้น
  • นอกจากนี้ ควรเจาะที่ครอบและฝาครอบปิดไว้ล่วงหน้า เพื่อที่เมื่อถึงเวลามุงหลังคา แผ่นที่อยู่ข้างใต้จะสามารถปรับไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
  • คุณสามารถใช้ตัวยึด One-Shot ซึ่งจะต้องใช้เครื่องเจาะรูเฉพาะตัวเอง การเลือกใช้ตัวยึดชนิดนี้จะช่วยเร่งงานมุงหลังคาของคุณได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องเจาะรูล่วงหน้า
  • คุณต้องมุงหลังคาโดยให้ด้านที่ป้องกันรังสียูวีหันเข้าหาดวงอาทิตย์ มองหาสติกเกอร์ที่บอกว่าด้านไหนเป็นด้านที่กันรังสียูวี นอกจากนี้ ระวังอย่าให้แผ่นเป็นรอยในระหว่างที่มุงหลังคา เพราะจะทำให้ชั้นป้องกันรังสียูวีเสียหายได้
  • พิจารณาเรื่องทิศทางลมพัดผ่านและตรวจสอบให้แน่ใจว่า คุณทาบแผ่นหลังคาในแนวที่ถูกต้อง สิ่งสุดท้ายที่ควรคำนึงคือ แรงลมที่จะพัดฉีกแผ่นโพลีคาร์บอเนตของคุณได้
  • ใช้เทปสำหรับแปเพื่อใช้กับงานพื้นผิวทั้งหมด ซึ่งเป็นงานที่สัมผัสกับโครงไม้
  • อย่าใช้แผ่นหลังคาที่มีระยะห่างของแปกว้างกว่าที่แนะนำ เพราะไม่เช่นนั้นแผ่นหลังคาอาจหย่อนได้และอาจมีน้ำค้างสะสมอยู่ตรงบริเวณหลังคาที่หย่อนนั่นเอง
  • เราไม่แนะนำให้ใช้ซิลิโคนในการปิดรักษาหลังคาโพลีคาร์บอเนต เนื่องจากแผ่นโพลีคาร์บอเนตจะขยายและหดตัวได้มากกว่าซิลิโคน แต่ถ้าต้องใช้ก็ควรใช้แค่ซิลิโคนชนิดที่ไม่มีกรดเท่านั้น
  • แผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนตจะมาพร้อมอุปกรณ์ใส่รูและช่องด้านหลังที่แนะนำโดยผู้ผลิต อย่าใช้อุปกรณ์ใส่รูที่ทำจากโฟมชุบยางมะตอย เพราะจะยิ่งทำให้แผ่นหลังโพลีคาร์บอเนตเสียหายได้!
  • หากแผ่นหลังคาบางแผ่นไปกดทับรางน้ำฝน ให้เจาะรู 5 มม. ลงในแอ่งขนาด 10 มม. จากขอบแผ่นหลังคาซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่ต่ำลงมา

หากยังไม่แน่ใจว่าแผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนตเหมาะกับคุณหรือไม่

ด้วยความที่เราอยากให้คุณพอใจกับการซื้อจริง ๆ หากคุณยังไม่แน่ใจว่าแผ่นโพลีคาร์บอเนตนั้น เป็นวัสดุที่เหมาะกับงานมุงหลังคาของคุณตามที่วางแผนไว้หรือไม่ หรือหากมีคำถามเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับแผ่นโพลีคาร์บอเนต โปรดติดต่อเรา!

เราหวังอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสได้รับการติดต่อคุณและได้ให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้การบริการอย่างที่คาดหวังไว้